โรคเบาหวาน คืออะไร ชนิด อาการ สรุปจบหน้าเดียว
เบาหวาน คือ (Diabetes Mellitus: DM)
เบาหวาน คือ โรคที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติแบบเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ หากปล่อยให้อยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่างๆ เสื่อม และเกิดโรคแทรกซ้อนได้ โรคนี้มักไม่แสดงอาการเตือนให้เห็น จนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนขึ้น แต่ในปัจจุบันสามารถตรวจภาวะก่อนเป็นเบาหวานได้ ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และตรวจระดับน้ำตาลสะสม
สาเหตุ เบาหวาน คือ
สาเหตุ เบาหวาน คือ เกิดจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลกลูโคสในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ น้ำตาลคลูโคสจึงเกิดการสะสมอยู่ในเลือดเป็นปริมาณสูงกว่าปกติ โดยมีสาเหตุหลัก ดังนี้
- ตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือผลิตไม่เพียงพอ ซึ่งอินซูลินจะมีหน้าที่ดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานกับเซลล์ในร่างกาย
- เกิดความบกพร่องของการสร้างอินซูลิน หรืออินซูลินทำงานผิดปกติ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก
โรคเบาหวาน ในประเทศไทย
สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยพบว่า คนไทยช่วงอายุ 20-79 ปี เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 8.3 ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หลังงดอาหารและเครื่องดื่ม หากมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าปกติ
4 ชนิดหรือประเภทของ โรคเบาหวาน
1. เบาหวาน ชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) เป็นชนิดพึ่งอินซูลิน
มักพบในคนที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี และมักป็นคนผอม สาเหตุคือตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ อาจเนื่องจาก ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือพันธุกรรม ทำให้ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน ถ้าขาดอินซูลินจะเกิดภาวะหมดสติจากภาวะน้ำตาลสูงและกรดคีโตนคั่งในเลือดได้
ข้อควรรู้ อินซูลินไม่สามารถรับประทานได้ เนื่องจากจะถูกทำลายระหว่างการย่อยอาหารเช่นเดียวกับโปรตีนในอาหาร จึงต้องให้ด้วยการฉีดเท่านั้น
2. เบาหวาน ชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes) คือชนิดไม่ต้องพึ่งอินซูลิน
เป็นชนิดที่พบมากที่สุด มากถึง 95-97% ของผู้เป็นเบาหวานในประเทศไทย ส่วนใหญ่มักเป้นคนอ้วน อายุมากกว่า 40 ปี เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) สาเหตุและปัจจัยได้แก่
- อายุที่มากขึ้น
- ความอ้วน
- ประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นเบาหวาน
- เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- ความต้านทานต่อกลูโคสต่ำ
- ร่างกายไม่เคลื่อนไหว
- ความดันโลหิตสูง
- ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- มีประวัติเคยเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด
ผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการควบคุมอาหารหรือให้ยาเม็ดช่วยลดระดับน้ำตาล แต่ถ้าหากเป็นระยะเวลานาน ในบางรายมีเบต้าเซลล์เสื่อม ทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำต้องฉีดอินซูลินช่วย
ในปัจจุบันนี้มักพบในเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะเด็กอ้วนเนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง มีการรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก ขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ และมักจะนั่งหน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
3. เบาหวาน ที่เกิดในช่วงตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes)
เป็นสภาวะที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน สาเหตุคือในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์จะมีฮอร์โมนจากรกซึ่งมีฤทธิ์ต้านอินซูลิน เป็นผลให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินลดลง ถ้าไม่สามารถเพิ่มการสร้างอินซูลินได้เพียงพอ ก็จะทำให้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
ผู้หญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยหลังคลอดมักจะพบว่าภาวะนี้จะหายไป แต่เมื่อติดตามต่อไปจะพบว่าหญิงที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเบาหวานได้ จึงควรติดตามเพื่อตรวจสอบเป็นระยะ
4. โรคเบาหวาน ชนิดอื่นๆ ที่มีสาเหตุเฉพาะ
นอกจากนี้ ยังมีเบาหวานที่พบได้ไม่บ่อย อย่างที่เกิดจากกรรมพันธุ์ หรือแบบโมโนเจนิก (Monogenic Diabetes) และจากสาเหตุอื่นๆ เช่น
- การได้รับยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือสารเคมี
- การผ่าตัด
- ยาเสพย์ติด
- ภาวะขาดสารอาหาร
- การติดเชื้อ และความเจ็บป่วยอื่นๆ เป็นต้น
ใครที่มีความเสี่ยงเป็น โรคเบาหวาน ได้บ้าง?
โรคเบาหวาน ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรมที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ดังนั้นผู้ที่มีญาติโดยตรง อย่าง พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่ป่วยเป็น ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งหากมีทั้งพ่อและแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน รุ่นลูกก็จะมีโอกาสเป็นถึงร้อยละ 50
นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของเราเอง อาทิเช่น การรับประทานอาหาร ผู้ที่ปล่อยให้ตัวเองมีรูปร่างอ้วน ไม่ชอบออกกำลังกาย มีไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
สรุปใครบ้างที่มีโอกาสเสี่ยงกันบ้าง
- ทางพันธุกรรม อย่างที่บอกไปในตอนแรกว่าคนที่มีครอบครัวสายตรง ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้องที่เป็นท้องเดียวกันป่วยเป็นโรคนี้ รุ่นต่อมาก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้สูงกว่าคนทั่วๆ ไป
- ผู้ที่เป็นโรคอ้วนและมีน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ดื้อต่ออินซูลิน
- คนที่ไม่ออกกำลังกาย หรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ เนื่องจากว่าการออกกำลังกายนั้นจะทำให้เราควบคุมน้ำหนักได้ อีกทั้งยังช่วยให้เซลล์ต่างๆ ไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ และช่วยเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีอีกด้วย
- เรื่องของเชื้อชาติ ทั้งนี้มีข้อมูลพบว่าคนในบางเชื้อชาติ อาทิ ในคนเอเชียและคนผิวดำมีโอกาสที่จะป่วยเป็นได้มากกว่าคนชาติอื่นๆ
- เรื่องของอายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นเบาหวานก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว นั่นอาจมาจากระบบการทำงานของเซลล์ตับอ่อนเสื่อมถอย
- คนที่มีไขมันในเลือดสูง รวมทั้งคนที่มีความดันโลหิตสูงก็เช่นกัน
อาการ เบาหวาน สังเกตอย่างไร ?
อาการ เบาหวาน หรือสัญญาณเตือนที่พบบ่อย ที่แสดงว่าอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นเบาหวาน ได้แก่
- เหนื่อย อ่อนเพลียง่าย ทั้งๆ ที่พักผ่อนเพียงพอ
- ร่างกายซูบผอมลงผิดปกติ โดยไม่สามารถหาสาเหตุได้
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
- หิวน้ำมากกว่าปกติ (เพราะร่างกายสูญเสียน้ำจากการปัสสาวะบ่อย)
- ตาแห้ง ตาพร่ามัว อย่างไม่ทราบสาเหตุ
- ปวดขา ปวดเข่า
- ผิวหนังแห้ง และมีอาการคัน อาจจะคันตามตัว หรือคันบริเวณปากช่องคลอด
- เป็นฝีตามตัวบ่อยๆ
- มีอาการชาที่เท้า หรือรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่ปลายเท้า
- เมื่อเกิดบาดแผลมักหายช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า
รูปแสดง อาการ เบาหวาน
อาการ เบาหวาน แต่ละชนิดอาจมีความคล้ายกันตามอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วยประเภทที่ 1 จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ผู้ป่วยประเภทที่ 2 จะแสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มักเกิดขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 24-28 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของ โรคเบาหวาน ( Diabetes )
เบาหวาน เป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนี้
- โรคแทรกซ้อนที่เกิดเฉียบพลันได้แก่ ภาวะกรดคีโตนคั่งในเลือด และภาวะการเสียสติจากน้ำตาลสูงในเลือด
- โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น โรคแทรกซ้อนที่ตา จอตาเสื่อมจาก เบาหวาน เบาหวานขึ้นตา หรืออาจตาบอดได้ โรคไตวายระยะสุดท้าย และเส้นประสาท เป็นต้น
- โรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น
- โรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาท
- แผลที่รักษาไม่หาย บางกรณีสามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยะบางส่วน โดยการตัดอวัยวะทิ้ง
- สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ อาจเกิดการแท้งบุตรได้
การตรวจ เบาหวาน และหลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรค
เริ่มที่แพทย์จะสอบถามอาการทั่วไป ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว และการตรวจร่างกาย และที่สำคัญต้องอาศัยการตรวจเลือด เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก โดยมีวิธีการวิเคราะห์ระดับน้ำตาลในเลือด มี 3 วิธีที่นิยมได้แก่
- การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting Plasma Glucose: FPG) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยที่นิยมใช้กันทั่วไป จะวินิฉัยว่าเป็นเบาหวานเมื่อมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป
- ผลการสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา (nonfasting plasma glucose) โดยไม่ต้องอดอาหาร ค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป จะบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน
- การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (โดยให้รับประทานน้ำตาลปริมาณ 75 กรัมที่ละลายในน้ำ แล้ววัดระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังจากนั้น) หากมีค่าน้ำตาลตั้งแต่ 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ขึ้นไป จะบ่งชี้ว่าเป็นเบาหวาน
หากผู้ป่วยไม่มีอาการของโรคที่ชัดเจน เช่น หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีสาเหตุ การตรวจด้วยวิธีทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการตรวจซ้ำอย่างน้อย 1 ครั้งด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอีกครั้งหนึ่งเพื่อยืนยันผลการวินิจฉัย ส่วนหญิงตั้งครรภ์ การตรวจอาจต้องใช้วิธีที่แตกต่างไป
ยาและวิธีการรักษา เบาหวาน ( Diabetes )
การรักษา เบาหวาน เป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากแพทย์ พยาบาล โภชนากร และ ที่สำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเอง เป้าหมายของการรักษาก็เพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงกับระดับปกติอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยต้องตระหนักถึงความสำคัญของการรักษา โดยต้องเข้าใจก่อนว่า โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถให้ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกับปกติได้ รูปแบบการรักษาจะขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย
การรักษา โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1
เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เพราะว่ากลุ่มเซลล์ดังกล่าวถูกทำลาย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินเข้าไปทดแทนในร่างกายด้วยการฉีดยาเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการคุมอาหารและออกกำลังกายที่เหมาะสม
การรักษา โรคเบาหวาน ชนิดที่ 2
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการวางแผนการรับประทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การลดน้ำหนักตัวลง และการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน (ตา ไต หัวใจ สมอง) ให้เกิดช้าลงได้ ร่างกายยังคงสามารถผลิตอินซูลินได้ แต่ไม่ตอบสนองต่ออินซูลินนั้น ในบางกรณีอาจต้องมีการการรักษาด้วยการให้ยาลดการดื้ออินซูลิน หรือการฉีดอินซูลินเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลมาใช้ประโยชน์ได้
สำหรับผู้เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
ควรเข้าฝากครรภ์กับแพทย์ตั้งแต่ในระยะแรก พร้อมทั้งควบคุมอาหารที่รับประทานและออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
กรณีที่ผู้ป่วยเกิดแผลเบาหวานขึ้นที่เท้า
แพทย์อาจให้ผู้ป่วยใส่อุปกรณ์ช่วยป้องกันแผล หากแผลเริ่มมีลักษณะรุนแรงขึ้น แพทย์อาจวางแผนการรักษาตามเหมาะสมขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของแผลที่เป็น ทั้งนี้ หากรักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้นแพทย์อาจต้องตัดอวัยวะทิ้งเพื่อป้องกันอาการลุกลาม
อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง
หลักการกิน อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ไม่ได้ต่างจากหลักการกินอาหารเพื่อให้มีสุขภาพดีของคนทั่วไป คือ การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนและปริมาณพอเหมาะ และมีความหลากหลาย โดยอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานแบ่งง่ายๆ เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. อาหารที่ไม่ควรรับประทาน สําหรับคนเป็นเบาหวาน
น้ำตาลทุกชนิด ได้แก่ น้ำตาลอ้อย น้ำตาลก้อน น้ำผึ้ง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม เช่น น้ำเก๊กฮวย น้ำลำไย ชาเขียว น้ำอัดลม ชา กาแฟปรุงสำเร็จ และขนมหวานต่างๆ
ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมข้นหวาน นมปรุงแต่งรสหวาน นมเปรี้ยว โยเกิร์ตปรุงแต่งรสชาติ
ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้เชื่อม ผลไม้ตากแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพลับ ลูกพรุน อินทผลัมตากแห้ง รวมถึงผลไม้ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง
อาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว จำพวก ไขมันสัตว์ ไส้กรอก หมูสามชั้น น้ำมันมะพร้าว แกงกะทิ ไขมันนม เนย ครีม เนื่องจากอาหารเหล่านี้ มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งไม่เหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็ว ซึ่งเป็นอันตรายจึงควรหลีกเลี่ยง
2. อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ที่รับประทานได้โดยไม่จำกัดปริมาณ
ผักก้าน ผักใบ ผักใบเขียวทุกชนิด ควรรับประทานทุกวัน และทุกมื้อให้หลากหลายชนิดในหนึ่งวัน อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่แคลอรี่ต่ำ และมีใยอาหารสูง ทำให้การดูดซึมน้ำตาลช้าลง อีกทั้งใยอาหารยังช่วยดูดซับน้ำตาล ไม่ให้เข้าสู่กระแสเลือดเร็วเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถดึงน้ำตาลไปใช้ได้พอดี
3. อาหารสําหรับเบาหวาน ที่รับประทานได้แต่จำกัดปริมาณ
อาหารประเภทข้าว แป้ง ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยอาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ผู้เป็นโรคเบาหวานจึงไม่ควรงดหรือจำกัดจนมากเกินไป แต่ควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้งานและกิจกรรมที่ต้องใช้ในแต่ละวัน
ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน ซึ่งคาร์โบไฮเดรตในผลไม้อยู่ในรูปแบบของน้ำตาล โดยผลไม้แต่ละชนิดมีน้ำตาลที่แตกต่างกัน เช่น ส้มมีน้ำตาลประมาณ 10% ทุเรียนมีน้ำตาลประมาณ 30 – 35% และมะขามหวานมีน้ำตาลมากถึง 75 – 80% ซึ่งผลไม้ยิ่งหวานมาก ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นด้วย จึงควรหลีกเลี่ยงผลไม้หวานจัด ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มะม่วงสุก องุ่น ฯลฯ
ถึงแม้ว่าผลไม้จะมีน้ำตาล แต่ก็ยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ดังนั้นจึงไม่ควรงด แต่ควรกินตามปริมาณที่กำหนด โดยแนะนำว่าสามารถกินได้วันละ 2-3 มื้อ ในปริมาณ 7-8 ชิ้น คำ/มื้อ
การจะควบคุมอาหารให้ได้ผลดี จำเป็นต้องลดทั้งหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก รวมถึงออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดูแลทั้งหมดนี้ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นสิ่งสำคัญที่จะดูแลสุขภาพของเราได้อย่างยั่งยืน และลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนได้
สมุนไพรแก้เบาหวาน ลดอาการเบาหวาน
ในปัจจุบันจะพบว่ามีสูตรยา สมุนไพรแก้เบาหวาน มากมายที่ใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ป่วย ผู้ป่วยหลายๆ คน เสาะหาวิธีควบคุมระดับน้ำตาลโดยการรับประทานสมุนไพร เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องเบาหวานได้แล้วก็ยังช่วยเรื่องสุขภาพอีกด้วย และมากกว่า 50% ของผู้ป่วยเหล่านี้ยืนยันว่าได้มีการใช้อาหารเสริมควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์
3 สมุนไพรแก้เบาหวาน ยอดนิยมในปัจจุบัน
1.ถั่งเช่า หรือที่เรียกกันว่าหญ้าหนอน เป็นสมุนไพรลดอาการเบาหวาน มีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอลและไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ เนื่องจากมีสารสำคัญ Cordycep ที่จะพบได้ในตัวถั่งเช่าเท่านั้น
2.เห็ดหลินจือ เนื่องจากในเห็ดหลินจือมีสารในกลุ่มโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ซึ่งที่มีฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งอินซูลิน ที่มีหน้าที่ช่วยให้น้ำตาลที่อยู่ในเลือดถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้แก่ร่างกาย และช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ จึงนิยมนำมาใช้แก้เบาหวาน
3.โสม ด้วยสรรพคุณอันน่าอัศจรรย์อย่างมากมาย ยังค้นพบว่าการรับประทานโสมสามารถช่วยชะลอการดูดซึมของคาร์โบไฮเดรต และช่วยให้เซลล์สามารถดึงเอากลูโคสไปใช้งานได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มการหลั่งของอินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 15-20% เลยทีเดียว จึงเป็นสมุนไพรแก้เบาหวาน ชั้นดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสมุนไพรหลายตัวจะช่วย ลดอาการเบาหวาน หรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ แต่ก็อย่าลืมว่าสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ ฉะนั้นหากคุณคิดจะใช้สมุนไพรควบคู่กับการรักษา ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง
บทสรุปส่งท้าย การดูแลและป้องกัน โรคเบาหวาน
หลายท่านคงเคยได้ยินพุทธพจน์ที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ดังนั้นการให้ความสำคัญในการป้องกันโรคเบาหวาน จึงเป็นสิ่งหนึ่งที่พึงควรทำอย่างยิ่ง คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารให้ครบถ้วน และมีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะความอ้วนจะทำให้ร่างกายเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น การลดน้ำหนักตัวลงจะทำให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น
หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรอง เพื่อสามารถตรวจพบ เบาหวาน ได้ในระหว่างการตั้งครรภ์
แนะนำอาหารเสริมถั่งเช่า
ถั่งเช่าทิเบตแท้ CORDY-1
ได้รับมากกว่า ด้วยปริมาณถั่งเช่าสูงถึง 850 มิลลิกรัม ใน 1 แคปซูล เสริมด้วยสมุนไพรชั้นเลิศอีก 3 ชนิด คือ โสมเกาหลี เห็ดหลินจือ และเบต้ากลูแคนจากโอ๊ต